ที่ตั้ง
|
|
|
ทิศเหนือ |
จรด |
บ้านหลักศิลาเหนือ ต.พระกลางทุ่ง |
ทิศใต้ |
จรด |
บ้านบุ่งฮี ต.พระกลางทุ่ง
|
ทิศตะวันตก |
จรด |
บ้านหลักศิลาทุ่ง ต.พระกลางทุ่ง
|
ทิศตะวันออก |
จรด |
แม่น้ำโขง สปป.ลาว |
ประวัติหมู่บ้าน
ในอดีตบริเวณแห่งนี้เป็นป่ารกทึบไม่มีผู้คนอาศัยอยู่เลย ต่อมามีพระธุดงค์รูปหนึ่งชื่อ พระอาจารย์โส ได้มาปักกลดเพื่อปฏิบัติธรรมบริเวณแห่งนี้ และได้ธุดงค์รอบๆ เห็นว่าภูมิประเทศดีเหมาะสำหรับในการจัดตั้งวัคจึงดำเนินการก่อตั้งวัคขึ้น มีชาวบ้านผ่านไปมากราบไว้เป็นประจำ อยู่ต่อมามีชาวบ้านจำนวน 3 ครอบครัวได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่แถบนี้ คือครอบครัวของพ่อหลวงชนะ ไชยพร นายทอน ไชยพร (น้องชาย) และนายเบญจา เขมราช พร้อมลูกหลานหลายครอบครัวที่ย้ายมาจากพื้นที่ตำบลเรณู (อำเภอเรณูนครปัจจุบัน) กลายเป็นหมู่บ้านขึ้นมา เมื่อปี พ.ศ. 2458 ได้ตั้งผู้ใหญ่ชื่อ นายทอน ไชยพร และได้ตั้งชื่อ บ้านหินศิลา เพราะบริเวณแห่งนี้มีหินศิลาโผล่ขึ้นมาจากพื้นดินสูงประมาณ 70 ซม. ด้านหลังจารึกเป็นอักษรขอม พระอาจารย์โสหรือหลวงปู่โส เป็นผู้ก่อตั้งวัคชื่อว่า วัคศิลามงคล และชาวบ้านได้เปลี่ยนชื่อบ้าน หินศิลา มาเป็น บ้านหลักศิลา ต่อมาเพื่อง่ายแก่การปกครองเนื่องจากมีชาวบ้านเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากขึ้นจึงแยกออกเป็น 2 หมู่บ้านคือบ้านหลักศิลาหมู่ที่ 4 และบ้าหลักศิลาหมู่ที่ 10 บ้านหลักศิลาใต้ ได้แยกออกจากหมู่ 4 ตำบลพระกลางทุ่ง พ.ศ.2513 ผู้ใหญ่บ้านหลักศิลาใต้คนแรกชื่อ นายพัน มิควาฬ บ้านหลักศิลาใต้ ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำโขง ระหว่างประเทศไทย และ สปป.ลาว

พื้นที่หมู่บ้าน
พื้นที่ทั้งหมด |
1,1152 |
ไร่ |
ที่ดินทำกิน |
100 |
ไร่ |
ที่อยู่อาศัย |
92 |
ไร่ |
ที่ทำการเกษตร |
6,350 |
ไร่ |
ที่ดินสาธารณะประโยชน์ |
93 |
ไร่ |
|
|
|
|
|
|
จำนวนครัวเรือนและประชากร
จำนวนครัวเรือน |
176 |
ครอบครัว |
ประชากรชาย |
394 |
คน |
ประชากรหญิง |
403 |
คน |
รวม |
797 |
คน |
|
|
|
|
|
|
หน่วยบริการในชุมชน
โรงสีขนาดเล็ก |
2 |
แห่ง |
ปั้มน้ำมันหยอดเหรียญ |
- |
แห่ง |
ร้านขายของชำในชุมชน |
6 |
แห่ง |
วัดมรุกขาราม |
1 |
แห่ง |
ศาลาประชาคม |
1 |
แห่ง |
ศาลาชมโขง |
1 |
แห่ง |
หอกระจายข่าว |
1 |
แห่ง |
ตู้โทรศัพท์สาธารณะ |
1 |
แห่ง |
|
|
|
|
|
|
ข้อมูลกลุ่ม / องค์กร
กองทุนหมู่บ้านบ้านหลักศิลาใต้ |
จัดตั้งเมื่อ |
พ.ศ.2544 |
ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน |
จัดตั้งเมื่อ |
พ.ศ.2538 |
ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน |
จัดตั้งเมื่อ |
พ.ศ.- |
กลุ่มสตรีแม่บ้าน |
จัดตั้งเมื่อ |
พ.ศ.- |
กลุ่มปลูกพืชผักสวน |
จัดตั้งเมื่อ |
พ.ศ.- |
กลุ่มเลี้ยงโค-กระบือ |
จัดตั้งเมื่อ |
พ.ศ.- |
กลุ่มเลี้ยงปลาในบ่อดิน |
จัดตั้งเมื่อ |
พ.ศ.- |
กุ่มจักสานหัตกรรม |
จัดตั้งเมื่อ |
พ.ศ.- |
กลุ่มอนุรักษ์การท่องเที่ยวโฮมสตย์ |
จัดตั้งเมื่อ |
พ.ศ.2549 |
|
|
|
|
|
|
แหล่งน้ำ / ภาชนะเก็บน้ำ
สระน้ำสาธารณะ |
5 |
แห่ง |
สระน้ำส่วนบุคคล |
11 |
แห่ง |
บ่อบาดาล |
- |
บ่อ |
ประปาหมู่บ้าน |
- |
แห่ง |
คลองส่งน้ำ |
- |
สาย |
|
|
|
|
|
|
กลุ่มพลังมวลชน
อปพร. |
6 |
คน |
ไทยอาสาป้องกันชาติ |
30 |
คน |
ประชาคมหมู่บ้าน |
10 |
คน |
|
|
|
|
|
|
ข้อมูลรายชื่อผู้นำฝ่ายปกครอง
1 |
นายพัน |
มิควาฬ |
พ.ศ. 2513-2528 |
2 |
นายแวว |
สุมมานาถ |
พ.ศ. 2528-2536 |
3 |
นายยนมา |
ธ.น.สำ |
พ.ศ. 2536-2546 |
4 |
นายไตรเดช |
สีกาลัง |
พ.ศ. 2546-2551 |
5 |
นายทองใบ |
มิควาฬ |
พ.ศ. 2551-2553 |
6 |
นายพินิจ |
คัตถาวร |
พ.ศ. 2553- 2556 |
7
8 |
นายสุรชัย
นายเทวราช |
ชนะมนตรี
พลโลกา |
พ.ศ. 2556- 2558
พ.ศ. 2558- ปัจจุบัน
|
ข้อมูลสมาชิกสภาท้องถิ่น
1 |
นายบุญทัน |
มิควาฬ |
พ.ศ.2540-2548 |
อดีตกรรมการบริหาร |
2 |
ด.ต.สุวิทย์ |
จันทนะ |
พ.ศ.2544-2548 |
อดีตประธานกรรมการบริหาร |
3 |
นายโพธิ์สวาง |
พลชา |
พ.ศ.2548-2552 |
|
4 |
นางวาสนา |
ยุทธมานพ |
พ.ศ.2548-2552 |
|
5 |
นายโพธิ์สวาง |
พลชา |
พ.ศ.2552-2556 |
ได้รับเลือกเป็นประธานสภาอบต. |
6
7
8 |
นายธณรัฐ
ด.ต.สุวิทย์
นายทองใบ |
ธ.น.สำ
จันทนะ
มิควาฬ |
พ.ศ.2552-2556
พ.ศ.2556-ปัจจุบัน
พ.ศ.2556-ปัจจุบัน |
|
เส้นทางคมนาคม
|
มีถนนชยางกูร สาย 212 ธาตุพนม - นครพนม ผ่านด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ถนนภายในหมู่บ้าน 90 % เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก
|
ประเพณีวัฒนธรรม
 |
บุญมหาชาติ
บุญมหาชาติหรือบุญประจำปี คนในชุมชนจะร่วมกันจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีระหว่างเดือนมีนาคม พฤษภาคม ขึ้นอยู่กับความพร้อมของชุมชน กิจกรรมในงานอาจมีการจัดตั้งกองผ้าป่าสมทบทุนบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุในวัด และเพื่อเป็นการสืบสานพระเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
|
|
บุญกฐิน
เมื่อออกพรรษาแล้วหากยังไม่มีเจ้าภาพมาจับจองเพื่อถวายกฐิน ชาวบ้านก็จะรวมตัวกันจัดตั้งกฐินสามัคคีขึ้น โดยอาศัยแรงศรัทธาจากคนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง รวมทั้งจากพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้ร่วมอนุโมทนากฐิน กิจกรรมจะมีการเจริญพุทธมนต์ และรักษาศีลในตอนเย็น พอรุ่งขึ้นจะทำบุญตักบาตรและถวายกองกฐินตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อที่จะรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชุมชน
|
 |
บุญกองข้าว
ชาวบ้านหลักศิลาใต้ บ้านหลักศิลาทุ่ง บ้านหลักศิลาเหนือ บ้านบุ่งฮี บ้านศิลามงคลจะร่วมกันจัดขึ้น ที่วัคมรุกขาราม โดยจัดขึ้นประมาณเดือนธันวาคม - มกราคมของทุกปี เพื่อเป็นการทำขวัญข้าว เมื่อเสร็จสิ้นจากฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะมีการรับบริจาคข้าวจากทุกหลังคาเรือน และจากชุมชนที่ใกล้เคียงหรือที่เคยช่วยเหลือกัน มีการเจริญพุทธมนต์ในตอนเย็น และทำบุญตักบาตรในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น ข้าวที่ได้จะให้คนในชุมชนที่มีฐานะยากจนหรือไม่ได้ทำนามาบูชาเพื่อนำไปบริโภคในราคาถูก เพื่อนำเงินมาบูรณะสิ่งที่จำเป็นในวัดต่อไป
|
สถานที่สำคัญ / สถานที่ท่องเที่ยว
|
วัดมรุกขาราม...
ในปีประมาณ พ.ศ. 2500 ท่านเจ้าคุณพระพนมเจติยานุรักษ์ เป็นผู้นำพาชาวบ้านดำเนินการสร้าง และเดิมเรียกชื่อวัดว่า วัดสวนตาล ซึ่งตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน ระหว่างบ้านหลักศิลาใต้และบ้านหลักศิลาเหนือ เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน เดิมเคยเป็นสำนักเรียนของพระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และปริยัติธรรม และวัดมรุขารามเคยได้รับรางวัลวัดตัวอย่างมาแล้ว
|
|
โรงเรียนมรุกขนคร...
ตั้งอยู่ หมู่ 10 บ้านหลักศิลาใต้ สร้างเมื่่อ พ.ศ.2518 โดยท่านเจ้าคุณพระพนมเจติยานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดมรุกขารามในสมัยนั้น ได้นำชาวบ้านดำเนินสร้าง เพื่อเป็นที่เรียนแก่เด็ก ชั้น ป.1 ถึง ป.6
|
|
สถานีอนามัยตำบลพระกลางทุ่ง...
ตั้งอยู่ หมู่ 10 บ้านหลักศิลาใต้ โดยท่านเจ้าคุณพระพนมเจติยานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดมรุกขารามในสมัยนั้น ได้นำชาวบ้านร่วมกันบริจาคสมบททุนสร้าง ประมาณปี พ.ศ.2511 ให้บริการด้านสุขภาพ การรักษาพยาบาล ส่งสริมสุขภาพ ป้องกันโรค
|
|
ศาลาประชาคม / หอกระจายข่าวในหมู่บ้าน...
ตั้งอยู่ ณ ศาลาประชาคมหมู่บ้าน อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ใช้สำหรับประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลของทางราชการและข่าวสารในชุมชนให้ประชาชนได้รับทราบ โดยศาลาประชาคมบ้านหลักศิลาใต้ ใช้สำหรับเป็นที่ประชุมชาวบ้าน และการรวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมในชุมชน การเลือกออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งทุกระดับ ตั้งอยู่ริมเขื่อนแม่น้ำโขง ทิศตะวันออกของหมู่บ้าน
|
|
สระน้ำสาธารณะบึงกอง...
เป็นสระน้ำสาธารณะของตำบลพระกลางทุ่ง โดยตั้งอยู่ในพื้นที่ปกครองของบ้านหลักศิลาใต้ จึงให้ชุมชนได้ดูและและใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทุกปีจะมีการปล่อยพันธ์ปลาและเมื่อถึงระยะเวลาก็จะมีการประกาศให้มีการจับปลา โดยเงินที่ได้จะนำมาพัฒนาหมู่บ้านตามความจำเป็นและตามมติของชุมชนต่อไป
|
กลุ่มอาชีพ
 |
กลุ่มปลูกผักสวนครัว...
ตั้งขึ้นโดยการรวมตัวกันของคนในชุมชน จัดตั้งกลุ่มขึ้น เพื่อปลูกผักไว้กินและขาย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง เพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนในกลุ่ม เป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ใช้พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ที่สาธารณะและที่ของตัวเอง |
 |
กลุ่ม Home stay...
จัดตั้งขึ้นโดยคนในชุมชน โดยการสนับสนุนจากจังหวัดนครพนม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวและต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่ประสงค์การท่องเที่ยวแบบธรรมชาติ |
 |
กลุ่มจักสานตระกร้าพลาสติก...
คนในชุมชนได้ชักชวนผู้ที่มีความสนใจและว่างจากงานมาร่วมกันทำจักสานตระกร้าพลาสติก เพื่อจะได้มีรายได้เสริมใช้จ่ายในครอบครัว งบประมาณขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานราชการ และจากองค์การบริหารส่วนตำบลพระกลางทุ่ง และสินค้าที่ผลิตได้ไม่เคยตกค้างมีพ่อค้ามารับประจำ |
 |
กลุ่มเลี้ยงปลาในบ่อดิน...
การเลี้ยงปลาในบ่อดินเป็นรวมกลุ่มกันเลี้ยง โดยกลุ่มเลี้ยงปลาในบ่อดินจะดำเนินการปล่อยลูกปลา และจะดูรักษาเป็นอย่างดีโดยคนในกลุ่ม จนถึงฤดูจับปลา จะมีการเปิดให้คนจับปลาปีละครั้ง
|
การประกอบอาชีพ
 |
การเลี้ยงสัตว์...
คนในชุมชนเกือบทุกหลังคารเรือนจะทำการเลี้ยงสัตว์ประเภท หมู่ป่า ไก่ เป็ด ฯ ไว้ในครัวเรือน สำหรับไว้บริโภคเป็นอาหารและขายเมื่อมีจำนวนมากขึ้น |
 |
การเลี้ยงปลาในกระชัง...
การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นอาชีพเสริมของคนในชุมชนที่มีบ้านเรือนอยู่ติดกับแม่น้ำโขง ชาวบ้านจะทำกระชังเพื่อเลี้ยงปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลานิล ปลาเผาะ ฯ และยังได้รวมกลุ่มเพื่อหาทุนมาดำเนินการและจำหน่ายผลผลิตให้พ่อค้านำไปขายในตลาดต่อไป |
 |
ทำนา...
โดยพื้นฐานทางอาชีพ ประชากรบางส่วนในบ้านหลักศิลาใต้จะประกอบอาชีพทำนา ซึ่งเป็นอาชีพที่ทำสืบต่อกันมาแต่บรรพบุรุษ และคนในชุมชนยังได้จัดตั้งกลุ่มในชุมชน เพื่อรวมตัวกันประกอบอาชีพ และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนรวม |
 |
การปลูกพืชระยะสั้น...
ประชาชนที่อยู่ติดกับริมฝั่งแม่น้ำโขงจะทำการปลูกพืชระยะสั้นในช่วงที่น้ำโขงลดระดับลง ทรายจะตกตะกอนตามริมฝั่งแม่น้ำโขงทำให้มีพื้นที่ในการปลูกพืชผักสวนระยะสั้น พืชที่ปลูกเช่น ผักคะน้า ผักกาด กล่ำปลี หอม กระเทียม มันเทศ มันแกว และพืชผักอื่น ๆ หากเหลือจากการบริโภคแล้วก็นำไปขายเพื่อเสริมรายได้ให้กับครอบครัว |
|
ค้าขาย...
ราษฏรส่วนหนึ่งได้ประกอบอาชีพค้าขาย เช่น ขายของชำในหมู่บ้าน ซึ่งก็ไม่มากนัก เป็นอีกทางเลือกอาชีพของราษฎรแล้วแต่ความถนัดของใคร เพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว
|
 |
รับจ้าง...
ราษฎรที่ว่างจากการทำไร่ทำนา หรือไม่ได้ทำสวนก็จะทำงานรับจ้าง เช่น งานก่อสร้าง งานในไร่ อีกส่วนหนึ่งอาจไปขายแรงงานต่างจังหวัด หรือไปหางานทำที่กรุงเทพและต่างประเทศ |
ปราชญ์ชาวบ้าน
 |
นายพินิจ คัดถาวร
ที่อยู่ 130 หมู่ 10 บ้านหลักศิลาใต้ ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ความสำคัญ ปราชญ์ชาวบ้าน โฆษก พิธีกร
โทร.08-47949972
|
 |
นายแวว สุมานาถ
ที่อยู่ 43/21 หมู่ 10 บ้านหลักศิลาใต้ ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ความสำคัญ ปราชญ์ชาวบ้าน บายศรีสู่ขวัญ |
|
นายบุญทัน มิควาฬ
ที่อยู่ - หมู่ 10 บ้านหลักศิลาใต้ ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ความสำคัญ ปราชญ์ชาวบ้านด้านดนตรีกลองยาว วัฒนธรรมท้องถิ่น
|
|
นายทองใบ มิควาฬ
ที่อยู่ - หมู่ 10 บ้านหลักศิลาใต้ ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ความสำคัญ ปราชญ์ชาวบ้านด้านประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น
|
|
นาย
ที่อยู่ - หมู่ 10 บ้านหลักศิลาใต้ ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ความสำคัญ ปราชญ์ชาวบ้าน
|
ผู้นำหมู่บ้านปัจจุบัน
|
นายเทวราช พลโลกา
ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน
ที่อยู่ หมู่ 10 บ้านหลักศิลาใต้ ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
หมายเลขโทรศัพท์ 08-
|
|
นาย
ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
ที่อยู่ -- หมู่ 10 บ้านหลักศิลาใต้ ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
หมายเลขโทรศัพท์ 08-83002875
|
|
นาย
ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง
ที่อยู่ -- หมู่ 10 บ้านหลักศิลาใต้ ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
หมายเลขโทรศัพท์ 08-
|
|
นาย
ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายป้องกัน
ที่อยู่ -- หมู่ 10 บ้านหลักศิลาใต้ ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
หมายเลขโทรศัพท์ 08-47893850
|
|
นาย
ตำแหน่ง ประธานประชาคมหมู่บ้าน
ที่อยู่ -- หมู่ 10 บ้านหลักศิลาใต้ ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
หมายเลขโทรศัพท์
|
|